วันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2556

การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา


                แนวคิดในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาดูเหมือนเป็นกระแสที่ได้รับความสนใจมากทีเดียว  สืบเนื่องมาจากแนวการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช  2542 ซึ่งกำหนดแนวการจัดการศึกษาให้สถานศึกษาจัดสาระของหลักสูตรให้เป็นไปตามกำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อความเป็นไทย  ความเป็นพลเมืองดีของชาติ  การดำรงชีวิต  และการประกอบอาชีพ   รวมทั้งจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ในชุมชนและสังคม
                ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของสถานศึกษาในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องและส่งเสริมกับหลักสูตรแม่บท ความหมายของการพัฒนาหลักสูตร เป็นกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ก่อให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุด  ในการพัฒนาหลักสูตรนั้นอาจจะพัฒนาโดยการทำหลักสูตรที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น หรือสร้างหลักสูตรขึ้นมาใหม่  (สงัด  อุทรานันท์, 2532)
ความหมายของการพัฒนาหลักสูตร
                นักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมายของการพัฒนาหลักสูตรไว้ดังนี้
สงัด อุทรานันท์ ได้กล่าวถึงความหมายของการพัฒนาหลักสูตรว่า การพัฒนา ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า “Development” มีความหมายอยู่ ๒ ลักษณะ คือ การทำให้ดีขึ้นหรือทำให้สมบูรณ์ขึ้นและการทำให้เกิดขึ้น           
                ทาบา (Taba) ได้กล่าวไว้ว่า การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การเปลี่ยนแปลงปรับปรุงหลักสูตรอันเดิมให้ได้ผลดียิ่งขึ้น ทั้งในด้านการวางจุดมุ่งหมาย การจัดเนื้อหาวิชา การเรียนการสอน การวัดผลประเมินผล และอื่นๆ เพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายอันใหม่ที่วางไว้ การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบหรือเปลี่ยนแปลงทั้งหมด ตั้งแต่จุดมุ่งหมายและวิธีการ และการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรนี้จะมีผลกระทบกระเทือนทางด้านความคิดและความรู้สึกนึกคิดของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ส่วนการปรับปรุงหลักสูตร หมายถึง การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเพียงบางส่วนโดยไม่เปลี่ยนแปลงแนวคิดพื้นฐาน หรือรูปแบบของหลักสูตร
                กู๊ด (Good) ได้ให้ความเห็นว่า การพัฒนาหลักสูตรเกิดได้ 2 ลักษณะ คือ การปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงหลักสูตร การปรับปรุงหลักสูตรเป็นวิธีการพัฒนาหลักสูตรอย่างหนึ่งเพื่อให้เหมาะสมกับโรงเรียนหรือระบบโรงเรียน จุดมุ่งหมายของการสอน วัสดุอุปกรณ์ วิธีสอน รวมทั้งการประเมินผล ส่วนคำว่าเปลี่ยนแปลงหลักสูตร หมายถึงการแก้ไขหลักสูตรให้แตกต่างไปจากเดิม เป็นการสร้างโอกาสทางการเรียนขึ้นใหม่
เซเลอร์ และอเล็กซานเดอร์ (Saylor and Alexander) ให้ความหมายว่า การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การจัดทำหลักสูตรเดิมที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น หรือเป็นการจัดทำหลักสูตรใหม่โดยไม่มีหลักสูตรเดิมอยู่ก่อน การพัฒนาหลักสูตร อาจหมายรวมถึงการสร้างเอกสารอื่นๆ สำหรับนักเรียนด้วย
พื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร
                นักการศึกษาได้ให้ความคิดเห็นว่าพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรด้านต่างๆ ที่ควรนำมาพิจารณาในการพัฒนาหลักสูตร มี 5 ด้าน ดังนี้
1. พื้นฐานทางด้านปรัชญาการศึกษา
2.  พื้นฐานทางด้านจิตวิทยา
3.  พื้นฐานทางด้านสังคมและวัฒนธรรม
4.  พื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง
5.  พื้นฐานทางด้านวิทยาการและเทคโนโลยี
กระบวนการพัฒนาหลักสูตร
Fundamental Questions in Developing Curriculum & Principles

         1)              What is the purpose of the education?

         2)              What educational experiences will attain the purposes?
         3)              How can these experiences be effectively organized?
4)               How can we determine when the purposes are met?
1)Set Objectives(Tentative & Precise)

2) Design

3) Planning

4) Evaluation


Tyler’s Model of Curriculum Development



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น