วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556

การพัฒนาหลักสูตร


แนวคิดในการพัฒนาหลักสูตร

            หลักสูตรที่วางอยู่บนทฤษฎีจะสะท้อนให้เห็นลักษณะของหลักสูตรที่ยึดสนามเป็นหลัก แต่ก็ยังมีลักษณะเฉพาะในด้านเนื้อหา ในด้านกิจกรรม และจะเน้นที่การแก้ปัญหาการค้นคว้า ความเชื่อและความคิดของเพียเจท์และบรูเนอร์ จะมีความแตกต่างกันในเรื่องความพร้อมของผู้เรียน เพียเจท์ไม่ปฏิเสธความเป็นไปได้ของการเร่งให้เกิดการเรียนรู้ของผู้เรียน ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปเร่งเพราะจะทำให้ไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย เพราะผู้เรียนจะเรียนรู้ได้ดีและเร็วขึ้นก้ต่อเมื่อมีความพร้อม แต่สำหรับบรูเนอร์กล่าวไว้ว่า ไม่ว่าวิชาใดที่สามารถนำมาสอนให้แก่เด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพในทุกๆ ขั้นของพัฒนาการ จึงทำให้ความพร้อมของเด็กไม่มีความจำเป็นเลยต่อการจัดเนื้อหาของหลักสูตร
               ความเชื่อและความคิดของเพียเจท์เกี่ยวกับพัฒนาการทางสติปัญญาทางสติปัญญาของเด็ก จะช่วยนักพัฒนาหลักสูตรได้เป็นอย่างมากในการกำหนดเนื้อหา และกิจกรรมให้เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละวัยเช่นเดียวกับแนวคิดของการพัฒนาทางสติปัญญาของบรูเนอร์
ในการศึกษารูปแบบ หรือทฤษฎีการวางแผน หรือพัฒนาหลักสูตร จะพบว่ามีคำหลายคำที่มีความหมายคล้ายคลึงกัน และสามารถใช้แทนกันได้ ได้แก่ Curriculum – Planning, Curriculum Development, Curriculum Construction, Curriculum – lmprovement, และ Curriculum Revision มีความหมายแตกต่างกันดังนี้
               Curriculum – Planning หมายถึง กระบวนการในการสร้างหลักสูตร กล่าวถึงหลักสูตรในรูปสิ่งที่คาดหวัง หรือที่เป็นแผนอย่างหนึ่ง
               Curriculum Development หมายถึง การสร้าง Curriculum Materials รวมทั้งสื่อการเรียนที่นักเรียนใช้ ไม่ใช่การวางแผนหลักสูตรแต่จะเป็นผลที่เกิดจากการวางแผนหลักสูตร Curriculum Construction และ Curriculum Revision เป็นคำที่ใช้มาแต่ดั้งเดิมหมายถึง การเขียนและการปรับปรุงรายวิชาที่ศึกษา
               Curriculum – lmprovement หมายถึง การปรับปรุง หรือการวางแผนหลักสูตรในส่วนที่เป็นเป้าประสงค์มากกว่าที่หมายถึง กระบวนการในการวางแผนหรือพัฒนาหลักสูตร

กระบวนการในการวางแผนหรือพัฒนาหลักสูตร


ทฎษฎีการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์
1.      มีจุดประสงค์ทางการศึกษาอะไรบ้าง ที่โรงเรียนควรแสวงหา
2.     มีประสบการณ์ทางการศึกษาอะไรบ้าง ที่สามารถจัดขึ้นเพื่อช่วยให้บรรลุจุดประสงค์ที่กำหนดไว้นั้น
3.      จะจัดระบบประสบการณ์ดังกล่าวนี้อย่างไร จึงจะมีประสิทธิภาพมากที่สุด
4.    จะประเมินประสิทธิภาพของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร จึงจะตัดสินใจได้ว่าบรรลุถึงจุดประสงค์ที่กำหนดไว้
คำถามทั้ง 4 ประการนี้ ตรงกับองค์ประกอบที่สำคัญในการวางแผนหรือพัฒนาหลักสูตร    4 ด้าน ตามลำดับดังนี้ 1. การตั้งเป้าประสงค์ 2. การเลือกเนื้อหา 3. การสอน และ 4. การประเมินผล
               ทาบา ได้กล่าวถึงลำดับขั้นในการพัฒนาหลักสูตรไว้ 8 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1วิเคราะห์สภาพ ปัญหา ความต้องการ และความจำเป็นต่างๆ ของสังคม รวมทั้งศึกษาพัฒนาการของผู้เรียน กระบวนการเรียนรู้ ตลอดจนธรรมชาติของความรู้ เพื่อนำมาเป้นแนวทางในการกำหนดจุดประสงค์
ขั้นที่ 2 กำหนดจุดประสงค์ของการศึกษา โดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากขั้นที่ 1 เป็นหลักในการพิจารณา
ขั้นที่ 3 คัดเลือกเนื้อหาวิชาที่จะนำมาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตรงกับความต้องการและความจำเป็นของสังคม โดยคัดเลือกมาให้เรียนโดยเฉพาะที่ตรงกับจุดประสงค์ที่กำหนดไว้
ขั้นที่ 4 จัดระเบียบ ลำดับ และขั้นตอนของเนื้อหาวิชาที่คัดเลือกมา
ขั้นที่ 5 คัดเลือกประสบการณ์การเรียน โดยอาศัยความรู้เกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้และวิธีสอนแบบต่างๆ เป็นแนวทาง
ขั้นที่ 6 จัดระเบียบ ลำดับ และขั้นตอนของประสบการณ์การเรียน
ขั้นที่ 7 ประเมินผล เป็นขั้นที่จะทำให้ทราบว่าการพัฒนาหลักสูตรประสบผลสำเร็จมากน้อยเพียงใด โดยปกติจะพิจารณาจากผลของการใช้หลักสูตร นั่นคือ พิจารณาว่าผู้เรียนได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ เนื้อหาวิชาและกระบวนการเรียนการสอนมีความเหมาะสมเพียงใด
ขั้นที่ 8 ตรวจสอบความคงที่ และความเหมาะสมในแต่ละขั้นตอน โดยตรวจสอบตามแนวของคำถามที่มีลักษณะดังนี้
-        เนื้อหาวิชาที่จัดขึ้นเกี่ยวข้องกับจุดประสงค์หรือไม่
-        ประสบการณ์การเรียนได้ช่วยให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ตามจุดประสงค์หรือไม่
-        ประสบการณ์การเรียนที่จัดขึ้นมีความเหมาะสมเพียงใด


หลักของการพัฒนาหลักสูตร

               จากรูปแบบและทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตร สรุปเป็นหลักของการพัฒนาหลักสูตรดังนี้
1.      ใช้พื้นฐานจากประวัติศาสตร์ ปรัชญา สังคม จิตวิทยา และวิชาความรู้ต่างๆ
2.     พัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคม โดยวิเคราะห์ปัญหาความต้องการและความจำเป้นต่างๆ ของสังคม
3.      พัฒนาให้สอดคล้องกับระดับพัฒนาการ ความต้องการและความสนใจของผู้เรียน
4.      พัฒนาให้สอดคล้องกับหลักของการเรียนรู้
5.     ในการเลือกและจัดประสบการณ์การเรียน จะต้องพิจารณาความเหมาะสมในด้านความยากง่าย ลำดับก่อนหลัง และบูรณาการของประสบการณ์ต่างๆ
6.     พัฒนาในทุกจุดอย่างประสานสัมพันธ์กัน ตามลำดับจากจุดประสงค์ สาระความรู้และประสบการณ์ กระบวนการเรียนการสอน และการประเมินผล
7.      พิจารณาถึงความเป็นไปได้สูงในทางปฏิบัติ
8.      พัฒนาอย่างเป็นระบบ
9.      พัฒนาอย่างต่อเนื่องไม่หยุดยั้ง
10.   มีการวิจัยติดตามผลอยู่ตลอดเวลา
11.   ดำเนินการในรูปของคณะกรรมการ
12.  อาศัยความร่วมมืออย่างจริงจังของผู้เชี่ยวชาญและผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่าย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น