วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556

การออกแบบหลักสูตร



                 ในรายวิชาพัฒนาหลักสูตร การออกแบบหลักสูตรอยู่ในข้อที่ 2 ตามแนวคิดทฤษฎีของไทเลอร์  “What educational experiences will attain the purposes? (จะเอาอะไรมาสอน)” หรือการพัฒนาหลักสูตรข้อที่ 2 Design (การออกแบบหลักสูตร) เนื่องจากโลกมีการเปลี่ยนแปลง การศึกษาก็ย่อมต้องปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงไปตามการเวลา ดังนั้น การอกกแบบหลักสูตรเพื่อนำไปสู่การพัฒนาความสามารถหรือความรู้ของเด็กนักเรียนอย่างเต็มที่ต้องคำนึกถึง สิ่งเหล่านี้
                  The Four Pillars of Education หรือ สี่เสาหลักทางการศึกษา ซึ่งพจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้คำอธิบายไว้ว่าหมายถึง หลักสำคัญ ๔ ประการของการศึกษาตลอดชีวิต ตามคำอธิบายของคณะกรรมาธิการนานาชาติว่าด้วยการศึกษาในคริสต์ศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งได้เสนอรายงานเรื่อง Learning : The Treasure Within  ต่อองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) เมื่อ ค.ศ. ๑๙๙๕  ว่าการศึกษาตลอดชีวิตมีหลักสำคัญ ๔ ประการ ได้แก่ การเรียนเพื่อรู้  (Learning to Know) การเรียนรู้เพื่อปฏิบัติได้จริง  (Learning to Do) การเรียนรู้เพื่อการอยู่ร่วมกัน  (Learning to Live Together) และการเรียนรู้เพื่อชีวิต (Learning to Be)
                  การเรียนเพื่อรู้ คือ การเรียนที่ผสมผสานความรู้ทั่วไปกับความรู้ใหม่ในเรื่องต่าง ๆ อย่างละเอียดลึกซึ้ง การเรียนเพื่อรู้หมายรวมถึงการฝึกฝนวิธีเรียนรู้ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิต การเรียนรู้เพื่อปฏิบัติได้จริง คือ การเรียนรู้ที่ช่วยให้บุคคลสามารถรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ และปฏิบัติงานได้ เป็นการเรียนรู้โดยอาศัยประสบการณ์ต่าง ๆ ทางสังคมและในการประกอบอาชีพ ซึ่งอาจเป็นการเรียนรู้นอกระบบโรงเรียน ทั้งนี้ สืบเนื่องจากสภาพในท้องถิ่นหรือประเทศนั้น ๆ หรืออาจเป็นการเรียนรู้ในระบบโรงเรียน โดยใช้หลักสูตรซึ่งประกอบด้วยการเรียนในภาคทฤษฎีสลับกับการฝึกปฏิบัติงาน การเรียนรู้เพื่อการอยู่ร่วมกัน คือ การเรียนรู้ที่ช่วยให้บุคคลเข้าใจผู้อื่นและตระหนักดีว่า มนุษย์เราจะต้องพึ่งพาอาศัยกัน ดำเนินโครงการร่วมกันและเรียนรู้วิธีแก้ปัญหาข้อขัดแย้งต่าง ๆ โดยตระหนักในความแตกต่างหลากหลาย ความเข้าใจอันดีต่อกันและสันติภาพ ว่าเป็นสิ่งล้ำค่าคู่ควรแก่การหวงแหน การเรียนรู้เพื่อชีวิต คือ การเรียนรู้ที่ช่วยให้บุคคลสามารถปรับปรุงบุคลิกภาพของตนได้ดีขึ้น ดำเนินงานต่าง ๆ โดยอิสระยิ่งขึ้น มีดุลพินิจ และความรับผิดชอบต่อตนเองมากขึ้น การจัดการศึกษาต้องไม่ละเลยศักยภาพในด้านใดด้านหนึ่งของบุคคล เช่น ความจำ การใช้เหตุผล ความซาบซึ้งในสุนทรียภาพ สมรรถนะทางร่างกาย ทักษะในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น.
                 ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 ที่คนทุกคนต้องเรียนรู้ตั้งแต่ชั้นอนุบาลไปจนถึงมหาวิทยาลัย และตลอดชีวิต 3Rx7C
          3R ได้แก่ Reading (อ่านออก) Writing (เขียนได้) และ Arithmetics (คิดเลขเป็น)
          7C ได้แก่
                  -Critical thinking & problem solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แลทักษะในการแก้ปัญหา)
                  -Creativity & innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม)
                  -Cross-cultural understanding (ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์)
                  -Collaboration, teamwork & leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ)
                  -Communications , information & media literacy (ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ)
                  -Computing & ICT literacy (ทักษะด้านความพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
                  -Career & learning skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น