วันพุธที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2556

แนวคิดการพัฒนาหลักสูตรด้วย Model อ.สุเทพ

แนวคิดการพัฒนาหลักสูตรด้วย Model อ.สุเทพ



SU Model คือ รูปแบบจำลองโลกแห่งการศึกษา โดยประกอบด้วยวงกลม ซึ่งเปรียบเสมือนโลกที่มีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ คือ 1) พื้นฐานทางปรัชญา 2) พื้นฐานทางจิตวิทยา และ 3) พื้นฐานทางสังคม โดยมีสามเหลี่ยมแห่งการศึกษาที่มีองค์ประกอบ 3 ด้าน ได้แก่
·                           ด้านความรู้ กำกับด้วยปรัชญาทางการศึกษา 2 ปรัชญา คือ ปรัชญาสารัตถนิยม (Essentialism) ซึ่งมีแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนเพื่อเป็นการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม ประเพณี และ ปรัชญานิรันดรนิยม (Perenialism) ที่มีแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนด้วยเหตุผล เรียนรู้ในสิ่งที่เป็นเนื้อหาสาระที่มั่นคง
  o   ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม (Essentialism) มีความเชื่อว่า การศึกษาควรมุ่งพัฒนาความสามารถที่มนุษย์มีอยู่แล้ว เช่น ความสามารถในการจำ ความสามารถในการคิดความสามารถที่จะรู้สึก ฯลฯ การศึกษาควรมุ่งที่จะถ่ายทอดความรู้ที่สั่งสมกันมา ความเชื่อความศรัทธาต่างๆ ที่ยึดถือกันเป็นอมตะ อบรมมนุษย์ให้มีความคิดเห็น และความเป็นอยู่สมถะของการเป็นมนุษย์ หลักสูตรจะยึดเนื้อหาวิชาเป็นสำคัญ เนื้อหาที่เป็นวิชาพื้นฐาน ได้แก่ภาษา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และเนื้อหาที่เกี่ยวกับศิลปะ ค่านิยม และวัฒนธรรม
                                        o  ปรัชญาการศึกษานิรันดรนิยม (Perenialism) มีความเชื่อว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดของธรรมชาติมนุษย์คือ ความสามารถในการใช้เหตุผล ซึ่งความสามารถในการใช้เหตุผลนี้จะควบคุมอำนาจฝ่ายต่ำของมนุษย์ได้ เพื่อให้มนุษย์บรรลุจุดมุ่งหมายในชีวิตที่ปรารถนา ดังที่ โรเบิร์ต เอ็มฮัทชินส์ กล่าวว่า การปรับปรุงมนุษย์ หมายถึงการพัฒนาพลังงานเหตุผล ศีลธรรมและจิตใจอย่างเต็มที่ มนุษย์ทุกคนล้วนมีพลังเหล่านี้ และมนุษย์ควรพัฒนาพลังที่มีอยู่ให้ดีที่สุด การศึกษาในแนวปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม คือ การจัดประสบการณ์ให้ได้มาซึ่งความรู้ ความคิดที่เป็นสัจธรรม มีคุณธรรม และมีเหตุผล หลักสูตรที่เน้นวิชาทางศิลปศาสตร์ (Liberal arts) ซึ่งมีอยู่ 2 กลุ่มคือ กลุ่มศิลปะทางภาษา (Liberacy arts)ประกอบด้วยไวยากรณ์ วาทศิลป์และตรรกศาสตร์ ซึ่งเป็นเรื่องของการอ่าน การฟัง การพูด การเขียน และการใช้เหตุผล อีกกลุ่มหนึ่งคือ ศิลปะการคำนวณ (Mathematical arts) ประกอบด้วยเลขคณิต วิทยาศาสตร์ ปรัชญา ดาราศาสตร์ และดนตรี นอกจากนี้ยังให้ผู้เรียนรู้ผลงาน อันมีค่าของผู้มีอัจฉริยะในอดีตเพื่อคงความรู้เอาไว้ เช่น ผลงานอมตะทางด้านศิลปะ วรรณกรรม ดนตรีรวมทั้งผลงานทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ในปัจจุบันได้แก่หลักสูตรของวิชา พื้นฐานทั่วไป (General education) ในระดับอุดมศึกษา

·  ด้านผู้เรียน กำกับด้วยปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวะนิยม (Existentialism) ซึ่งมีแนวคิดที่ให้บุคคลมีเสรีภาพในการเลือกด้วยตนเอง มีแนวทางการจัดการศึกษาโดยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเลือกประสบการณ์ในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
                                          o  ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวะนิยม (Existentialism) มีแนวคิดว่า การศึกษาคือชีวิต มิใช่เป็นการเตรียมตัวเพื่อชีวิต หมายความว่า การที่จะมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุขจะต้องอาศัยการเข้าใจความหมายของประสบการณ์นิยม ฉะนั้นผู้เรียนจึงควรจะได้เรียนรู้ในสิ่งที่เหมาะแก่วัยของเขาและสิ่งที่จัดให้ผู้เรียนเรียนควรจะเป็นไปในทางที่ก่อให้เกิดประสบการณ์ที่ผู้เรียนสามารถเข้าใจปัญหาชีวิตและสังคมในปัจจุบัน และหาทางปรับตัวให้เข้ากับภาวะที่เป็นจริงในปัจจุบัน ปรัชญานี้ต้องการให้ผู้เรียนเรียนจากประสบการณ์ในชีวิตจริง เป็นประสบการณ์ที่สัมพันธ์กับสังคม หลักสูตรจึงครอบคลุมชีวิตประจำวันทุกรูปแบบที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนได้เข้าร่วมในประสบการณ์การเรียนรู้ทุกรูปแบบ หลักสูตรจะเน้นวิชาที่เสริมสร้างประสบการณ์ทางสังคม ตลอดจนชีวิตประจำวัน เนื้อหา ได้แก่ สังคมศึกษา วิชาทางภาษา วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ แต่ความสำคัญของการศึกษา พิจารณาในแง่ของวิธีการที่นำมาใช้ คือ กระบวนการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาในบทเรียน และนำเอากระบวนการแก้ปัญหาไปใช้ในชีวิตประจำวัน
                  
·                                    ด้านสังคม จะกำกับด้วยปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism) โดยมีแนวคิดในการจัดการศึกษาให้กับผู้เรียนควรเป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคม เนื่องจากสังคมมีปัญหา
                                          o   ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism) ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยมมีแนวความคิดว่า ผู้เรียนมิได้เรียนเพื่อมุ่งพัฒนาตนเองเพียงอย่างเดียว แต่ต้องเรียนเพื่อนำความรู้ไปพัฒนาสังคมให้สังคมเป็นสังคมประชาธิปไตยอย่างแท้จริง เพราะว่าสังคมขณะนั้นมีปัญหาต่างๆ มากมาย ทั้งปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ และการเมือง การศึกษาจึงมีบทบาทในการเป็นเครื่องมือสร้างสังคมและวัฒนธรรมที่ดีงามขึ้นมาใหม่ เป็นสังคมในอุดมคติ ที่มีความเพียบพร้อม และจะต้องทำอย่างรีบด่วน เนื้อหาวิชาที่นำมาบรรจุไว้ในหลักสูตร จะเกี่ยวกับปัญหาและสภาพของสังคมเป็นส่วนใหญ่จะเน้นวิชาสังคมศึกษาเช่น กระบวนการทางสังคมการดำรงชีวิตในสังคม สภาพเศรษฐกิจและการเมือง วิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ศิลปะในชีวิตประจำวัน สิ่งเหล่านี้จะทำให้มีความเข้าใจในกลไกของสังคม และสามารถหาแนวทางในการสร้างสังคมขึ้นมาใหม่


                ในการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาต้องตอบสนองด้านผู้เรียน ด้านสังคมและด้านความรู้ โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานทางการพัฒนาที่สำคัญ คือ พื้นฐานทางสังคม พื้นฐานทางจิตวิทยาและพื้นฐานทางปรัชญาและภายในสามเหลี่ยมการศึกษาจะประกอบด้วยสามเหลี่ยมเล็กๆภาพ ซึ่งเป็นการจำลองขั้นตอนในการจัดทำหลักสูตรของTyler โดยประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้
                    ขั้นตอนที่ 1คือ การวางแผน (Planning) ซึ่งจะเห็นว่ากำกับด้วยความรู้ (Knowledge) และจะสอดคล้องกับคำถามที่หนึ่งของไทเลอร์ คือ มีจุดมุ่งหมายอะไรบ้างในการศึกษาที่โรงเรียนต้องแสวงหา เพราะว่าหลักสูตรต้องวางแผนให้มีเนื้อหาครบคลุมในสิ่งที่ผู้เรียนต้องรู้และต้องเรียน
                     ขั้นตอนที่ 2 คือ การออกแบบ (Design) ซึ่งจะเห็นว่ากำกับด้วยผู้เรียน (Learner) และจะสอดคล้องกับคำถามที่สองของไทเลอร์ คือ มีประสบการณ์การศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจัด เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายในการศึกษา เพราะว่าหลักสูตรต้องออกแบบมา เพื่อให้จัดกิจกรรมหรือประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดความรู้แก่นักเรียน
                     ขั้นตอนที่ 3 คือ การจัดการหลักสูตร (Organize) ซึ่งจะเห็นว่ากำกับด้วยผู้เรียน (Learner)ความรู้ (Knowledge) และสังคม (Society) และจะสอดคล้องกับคำถามที่สามของไทเลอร์ คือจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ เพราะว่าการจัดการหลักสูตรให้ได้ประสิทธิภาพ คือ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีประสิทธิ เพื่อให้นักเรียนเกิดความรู้และบรรลุวัตถุประสงค์พร้อมกับสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการอยู่ในสังคม
                      ขั้นตอนที่ 4 คือ การประเมิน (Evaluate) ซึ่งจะเห็นว่ากำกับด้วยสังคม (Society) และจะสอดคล้องกับคำถามที่สี่ของไทเลอร์ คือ ประเมินประสิทธิ์ผลของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร เพราะว่าการประเมินผลการเรียน ความรู้และการจัดการเรียนการสอนจะทำให้นักเรียนได้ความรู้ที่สามารถนำไปใช้ในสังคม

                                      




วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556

มโนสำคัญเกี่ยวกับหลักสูตรและทฤษฎีหลักสูตร


               หลักสูตรเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ทำให้ปรัชญาหรือความมุ่งหมายทางการศึกษาบรรลุความมุ่งหมายเพราะหลักสูตรเป็นตัวกำหนดทิศทางการจัดการศึกษาของประเทศ อีกทั้งเป็นการกำหนดแนวทางในการพัฒนา ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรม เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ เจตคติและค่านิยมในอันที่จะนำประเทศไปสู่ความเจริญในทุกๆด้าน  จากความหมายของหลักสูตร ตามทัศนะของนักวิชาการทางการศึกษาดิฉันคิดว่าหลักสูตร หมายถึง ส่วนที่เป็นเนื้อหา สาระสำคัญ กิจกรรมต่างๆ ที่ออกแบบขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมาย ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ พัฒนาตนเองเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และใช้ชีวิตอยู่ในสังคมอย่างปกติสุข โดยสรุปแล้วหลักสูตรมีความสำคัญเป็นอย่างมากในกระบวนการจัดการเรียนการสอน เพราะหลักสูตรบอกให้ทราบว่าผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายอย่างไร และจะต้องจัดเนื้อหาสาระอย่างไร เครื่องมือวัดผลประเมินผลอย่างไร  ดังนั้นหลักสูตรจึงเป็นหัวใจของการจัดการเรียนการสอน และเป็นตัวกำหนดแนวทางในการจัดการศึกษาเพื่อนำไปสู่ความมุ่งหมาย ตามแผนการศึกษาแห่งชาติ และเป็นไปตามที่สังคมต้องการ องค์ประกอบของหลักสูตร ประกอบด้วย  จุดมุ่งหมาย เนื้อหาสาระ  การนำไปใช้ และการประเมินผล
               ทฤษฎีหลักสูตรเป็นเรื่องใหม่ของวงการศึกษาทฤษฎีหนึ่ง และเป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎีการศึกษาดังได้กล่าวมาแล้ว แต่ความกว้างขวางของการใช้ทฤษฎีหลักสูตรในวงการศึกษายังมีไม่มากนัก จนในบางครั้งนักการศึกษาและนักพัฒนาหลักสูตรลืมไปว่า การจัดทำหลักสูตรไม่จำเป็นต้องอาศัยทฤษฎีหลักสูตร เพราะถือกันว่า การจัดทำหลักสูตรเป็นเรื่องของกระบวนการ ก่อนอื่นจะต้องทำความเข้าใจคำว่า ทฤษฎีคืออะไร
                เฮอร์เบอร์ท ไฟเจล (Herbert Feigl อ้างจาก เจริญผล สุวรรณโชติ 2530 : 4) กล่าวว่า ทฤษฎี คือ การกำหนดข้อสันนิษฐานซึ่งได้รับมาจากวิธีการของตรรกวิทยาคณิตศาสตร์ ทำให้เกิดกฎเกณฑ์ที่ได้มาจากการทดลอง และการทดลองมิใช่เกิดจากการเรียนรู้จากที่หนึ่งที่ใด
               โลแกน และโอลม สเตด (Logan and Olmstead อ้างถึง สันต์ ธรรมบำรุง 2527 : 97) ได้ให้ความหมายว่า ทฤษฎี หมายถึงข้อความหนึ่งข้อความใดที่กำหนดไว้อย่างมีเหตุผล เช่อถือได้ และได้มีการถกถียงกันมาก่อน ก่อนที่จะลงความเห็นว่าสมควรที่จะกำหนดเรียนว่า ทฤษฎี
               เฟรด เคสลินเกอร์ (Fred N. Keslinger อ้างถึง สันต์ ธรรมบำรุง , 2527 : 97) “ทฤษฎี คือ การผสมผสานของความคิดรวบยอดที่แสดงให้เห็นถึงปรากฏการณ์ที่มีระบบ และเกิดความจริงจนสามารถพิสูจน์ได้
               สำหรับทฤษฎีหลักสูตร อาจจะเป็นสิ่งที่นักการศึกษาไม่คิดว่า ทฤษฎีหลักสูตรนั้นเป็นสิ่งที่นักศึกษาจะต้องยึดถือเมื่อมีการพัฒนาหลักสูตรในแต่ละครั้ง ด้วยหลักการของการกำหนดทฤษฎี ทฤษฎีหลักสูตรจะเกี่ยวข้องกับสิ่งสำคัญ 2 ประการ คือรากฐานในการวางหลักสูตร หลักการและวิธีการในการวางหลักสูตร
สรุป
ทฤษฎีหลักสูตร เป็นแนวคิดใหม่ที่นักพัฒนาหลักสูตรได้นำมาใช้ ทฤษฎีหลักสูตรเป็นการผสมผสานทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเข้ามาไว้ด้วยกัน กำหนดขึ้นเพื่อการนำมาใช้ในการพัฒนาหลักสูตร ทฤษฎีหลักสูตรจึงเป็นการพิจารณานำเอาพัฒนาการของมนุษย์นำเข้ามาใช้ เป็นการจัดและแยกประเภทของเหตุการณ์ต่างๆ และโยงความสัมพันธ์กับเหตุการณ์นั้นนำเอามาใช้ และพิจารณาโครงสร้างและเนื้อหาวิชาที่เหมาะสม นำมาบรรจุไว้ในหลักสูตรด้วยการคำนึงถึงความสอดคล้องตามสภาพการณ์ต่างๆ ทั้งในส่วนของผู้เรียนและในส่วนของสังคม การนำทฤษฎีหลักสูตรไปใช้จะประกอบด้วยการจัดประเภท การวางแผนการประเมินค่า และการปฏิบัติ

การออกแบบหลักสูตร



                 ในรายวิชาพัฒนาหลักสูตร การออกแบบหลักสูตรอยู่ในข้อที่ 2 ตามแนวคิดทฤษฎีของไทเลอร์  “What educational experiences will attain the purposes? (จะเอาอะไรมาสอน)” หรือการพัฒนาหลักสูตรข้อที่ 2 Design (การออกแบบหลักสูตร) เนื่องจากโลกมีการเปลี่ยนแปลง การศึกษาก็ย่อมต้องปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงไปตามการเวลา ดังนั้น การอกกแบบหลักสูตรเพื่อนำไปสู่การพัฒนาความสามารถหรือความรู้ของเด็กนักเรียนอย่างเต็มที่ต้องคำนึกถึง สิ่งเหล่านี้
                  The Four Pillars of Education หรือ สี่เสาหลักทางการศึกษา ซึ่งพจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้คำอธิบายไว้ว่าหมายถึง หลักสำคัญ ๔ ประการของการศึกษาตลอดชีวิต ตามคำอธิบายของคณะกรรมาธิการนานาชาติว่าด้วยการศึกษาในคริสต์ศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งได้เสนอรายงานเรื่อง Learning : The Treasure Within  ต่อองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) เมื่อ ค.ศ. ๑๙๙๕  ว่าการศึกษาตลอดชีวิตมีหลักสำคัญ ๔ ประการ ได้แก่ การเรียนเพื่อรู้  (Learning to Know) การเรียนรู้เพื่อปฏิบัติได้จริง  (Learning to Do) การเรียนรู้เพื่อการอยู่ร่วมกัน  (Learning to Live Together) และการเรียนรู้เพื่อชีวิต (Learning to Be)
                  การเรียนเพื่อรู้ คือ การเรียนที่ผสมผสานความรู้ทั่วไปกับความรู้ใหม่ในเรื่องต่าง ๆ อย่างละเอียดลึกซึ้ง การเรียนเพื่อรู้หมายรวมถึงการฝึกฝนวิธีเรียนรู้ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิต การเรียนรู้เพื่อปฏิบัติได้จริง คือ การเรียนรู้ที่ช่วยให้บุคคลสามารถรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ และปฏิบัติงานได้ เป็นการเรียนรู้โดยอาศัยประสบการณ์ต่าง ๆ ทางสังคมและในการประกอบอาชีพ ซึ่งอาจเป็นการเรียนรู้นอกระบบโรงเรียน ทั้งนี้ สืบเนื่องจากสภาพในท้องถิ่นหรือประเทศนั้น ๆ หรืออาจเป็นการเรียนรู้ในระบบโรงเรียน โดยใช้หลักสูตรซึ่งประกอบด้วยการเรียนในภาคทฤษฎีสลับกับการฝึกปฏิบัติงาน การเรียนรู้เพื่อการอยู่ร่วมกัน คือ การเรียนรู้ที่ช่วยให้บุคคลเข้าใจผู้อื่นและตระหนักดีว่า มนุษย์เราจะต้องพึ่งพาอาศัยกัน ดำเนินโครงการร่วมกันและเรียนรู้วิธีแก้ปัญหาข้อขัดแย้งต่าง ๆ โดยตระหนักในความแตกต่างหลากหลาย ความเข้าใจอันดีต่อกันและสันติภาพ ว่าเป็นสิ่งล้ำค่าคู่ควรแก่การหวงแหน การเรียนรู้เพื่อชีวิต คือ การเรียนรู้ที่ช่วยให้บุคคลสามารถปรับปรุงบุคลิกภาพของตนได้ดีขึ้น ดำเนินงานต่าง ๆ โดยอิสระยิ่งขึ้น มีดุลพินิจ และความรับผิดชอบต่อตนเองมากขึ้น การจัดการศึกษาต้องไม่ละเลยศักยภาพในด้านใดด้านหนึ่งของบุคคล เช่น ความจำ การใช้เหตุผล ความซาบซึ้งในสุนทรียภาพ สมรรถนะทางร่างกาย ทักษะในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น.
                 ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 ที่คนทุกคนต้องเรียนรู้ตั้งแต่ชั้นอนุบาลไปจนถึงมหาวิทยาลัย และตลอดชีวิต 3Rx7C
          3R ได้แก่ Reading (อ่านออก) Writing (เขียนได้) และ Arithmetics (คิดเลขเป็น)
          7C ได้แก่
                  -Critical thinking & problem solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แลทักษะในการแก้ปัญหา)
                  -Creativity & innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม)
                  -Cross-cultural understanding (ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์)
                  -Collaboration, teamwork & leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ)
                  -Communications , information & media literacy (ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ)
                  -Computing & ICT literacy (ทักษะด้านความพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
                  -Career & learning skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้)

พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านปรัชญา, ด้านจิตวิทยา และด้านสังคม


               ปรัชญาการศึกษาหรือทฤษฎีทางการศึกษา มีอิทธิพลและมีความสำคัญต่อการพัฒนาหลักสูตรเป็นอย่างมาก กล่าวคือ การที่นักพัฒนาหลักสูตรจะพิจารณาและตัดสินใจลงไปว่า จุดหมายของหลักสูตรควรจะเป้นอย่างไร จะกำหนดให้เรียนเนื้อหาอะไร ตลอดจนวิธีการเรียนการสอนและการประเมินผล จะต้องอิงหรืออาศัยความรู้และความคิดเกี่ยวข้องและพาดพิงปรัชญาและปรัชญาการศึกษาทั้งสิ้น โดยมีกลุ่มธรรมชาตินิยมเชิงจิตนิยม ได้ศึกษาลึกซึ้งลงไปจึงได้เสนอแนวความคิดทั้ง 6 ประการดังนี้
1.      ปรัชญาการศึกษากลุ่มนิรันตรนิยม
แนวความคิดหลักทางการศึกษาของนิรันตรนิยม ได้แก่ ความเชื่อว่าหลักการของความรู้จะต้องมีลักษณะที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง รากฐานนี้มาจากงานของ เซนท์ โทมัสอะไควนัส ย้ำว่าพลังแห่งเหตุผลของมนุษย์ผนวกกับแรงศรัทธา คือเคื่องมือแห่งความรู้  โทมัสให้ความสำคัญของชีวิตประจำวันของมนุษย์และคุณงามความดีที่อยู่เหนือธรรมชาติ เชื่อว่าสิ่งเหล่านี้ได้มาจากประสบการณ์ ดังนั้นการศึกษาจะต้องมุ่งที่การเสริมสร้างสติปัญญาในส่วนต่างๆ เหล่านี้โดยเฉพาะมีความเข้าใจว่า จิตของมนุษย์ได้รับมอบความหมายมาจากธรรมชาติในเชิงชีววิทยา การศึกษาจึงต้องแสวงหาสัจธรรมที่เป็นนิรันดร และจะต้องไม่ถูกชักนำให้หลลงไปกับความต้องการในปัจจุบันในลักษณะฉาบฉวยและชั่วครั้งชั่วคราว
2.      ปรัชญาการศึกษากลุ่มสารัตถนิยม
สารัตถนิยมเป็นชื่อของปรัชญาการศึกษาที่กำหนดขึ้นมาโดย วิลเลียม ซี แบกเลย์ ได้นำความคิดและความเชื่อเรียบเรียงเป้นรายงานเสนอต่อนักการศึกษาในปี ค.ศ.1938 ทัศนะนี้ได้ถูกนำไปปฏิบัติในโรงเรียนกันอย่างแพร่หลาย กลุ่มสารัตถนิยมมีสมาชิกและผู้สนับสนุนที่มาจากพวกจิตนิยม และสัจนิยมการผนึกกำลังและความคิดจึงไม่เป็นกลุ่ม จึงพิจารณาถึงทฤษฎีการเรียนรู้ของพวกสารัตถนิยมจำเป็นจะต้องตรวจสอบด้วยทฤษฎีของกลุ่มจิตนิยม และสัจนิยม จิตนิยมเป็นการจำลองของจิตที่มาจากพระเจ้า ดังนั้นจึงได้ความรู้มาโดยวิธีที่เกิดจากญาณของตนเอง สารัตถนิยมสนับสนุนการศึกษาทุกรูปแบบที่นำไปสู่การฝึกจิตการพัฒนาความสามารถในการจำ การหาเหตุผลและการทำความเข้าใจจึงมีความสำคัญมาก
3.     ปรัชญาการศึกษากลุ่มพิพัฒนนิยม
ปรัชญาการศึกษานี้  ก่อตั้งในศตวรรษที่  20  (1920)  ในสหรัฐอเมริกา  ปรัชญานี้มีความเชื่อว่า  สาระสำคัญและความเป็นจริงของสิ่งทั้งหลายนั้น  มิได้คงที่หรือหยุดนิ่ง  หากจะเปลี่ยนสภาพไปตามเวลาและสิ่งแวดล้อมและในส่วนที่เกี่ยวกับการศึกษานั้นลัทธินี้เชื่อว่า  การศึกษาในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมก็ควรจะเปลี่ยนสภาพไปด้วยเมื่อถึงคราวจำเป็น  ฉะนั้นวิธีการทางการศึกษาจึงต้องพยายามปรับปรุงให้สอดคล้องกับกาลเวลาและสภาพแวดล้อมอยู่เสมอ  การศึกษามิใช่จะสอนให้คนยึดมั่นในความจริง  ความรู้  และค่านิยมที่คงที่หรือถูกกำหนดไว้ตายตัว  หากจะต้องปรับปรุงการศึกษาเพื่อจะเป็นหนทางนำไปสู่การค้นพบความรู้ใหม่  ๆ  อยู่เสมอ 
  ดังนั้นปรัชญาการศึกษานี้  จึงยึดมั่นในทางแห่งเสรีภาพที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมเพื่อให้เหมาะสมกับกาลสมัย

4.      ปรัชญาการศึกษากลุ่มปฏิรูปนิยม
นักพิพัฒนนิยมมีความเห็นว่า แนวคิดขิงพิพัฒนนิยมมีลักษณะที่เป็นกลางมากเกินไป จึงไม่สามารถนำไปใช้ในการปฏิรูปการศึกษาในส่วนที่จำเป็นได้ พวกที่ต้องการแสวงหาอุดมการณ์ที่จะสามารถแก้ไขปัญหาสังคมได้ตรงกว่านี้ และสร้างสังคมที่ดีกว่าขึ้นมาใหม่ จึงถูกแยกออกจากพิพัฒนาการ เป็นแนวความคิดขึ้นมาใหม่ เรียกว่า ปฏิรูปนิยม” ความคิดของปฏิรูปนิยมมีอยู่ว่า การศึกษาควรจะเป็นเครื่องมือโดยตรงในการปฏิรูปการศึกษา เบิร์น ได้สรุปเห็นจุดเน้นของปฏิรูปนิยมว่า เรากำลังอยู่ในท่ามกลางวิกฤตของโลก การแก้ปัญหาที่มีประสิทธิผลต่อการสร้างระเบียบสังคมของโลกและโรงเรียนของโลกควรจะเป็นกลไกที่มีพลังในการสร้างมนุษย์โลกและวัฒนธรรมของเขาขึ้นมา พวกปฏิรูปนิยมมองโรงเรียนว่าเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสร้างระเบียบสังคมขึ้นมาใหม่ ดังนั้น การจัดหลักสูตรตามแนวคิดของปฏิรูปนิยม จึงเน้นเนื้อหาสาระและววิธีการที่จะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ถึงความรับผิดชอบที่จะปฏิรูปและสร้างสังคมใหม่ที่ดีกว่าขึ้นมา ทั้งในระดับชุมชน ประเทศ และระดับประเทศ
5.      ปรัชญาการศึกษากลุ่มอัตถิภาวนิยม
การค้นหาความหมายของการมีอยู่ของมนุษย์ในจักรวาล การร้องขอให้ได้มาซึ่งความสำคัญส่วนบุคคลในยุคเทคโนโลยี และความจำเป็นที่จะต้องรู้จักตนเองของบุคคลในยุคของเครื่องจักร นำไปสู่การทำให้เกิดความคิดตามแนวของอัตถิภาวนิยม จากรากฐานความคิดที่ได้มาจากผลงานของนักปรัชญาและชาวเทววิทยาชาว Danish ที่ชื่อ Soren Kierkegaard ความคิดของพวกอัตถิภาวนิยมก็ได้แพร่หลายและขยายออกไปอย่างรวดเร็ว พวกอัตถิภาวนิยมยืนยันว่า วิทยาศาสตร์เป็นวิธีการที่ไม่เพียงพอสำหรับพวกเขาเพราะว่า ความคิดทางวิทยาศาสตร์มักจะเกี่ยวกับการทำสิ่งต่างๆ ให้เป็นปรนัยและไม่ยอมรับการรับรู้ทางญาณและการปฏิสัมพันธ์ของตนเองที่ทางปรัชญาได้กำหนด ทางพวกอัตถิภาวนิยมให้ความสนใจและผูกพันอยู่กับการตรวจสอบตนเองที่อยู่เหนือเหตุผล เพราะว่าเขาไม่สามารถค้นหาคำตอบของคำถามสูงสุดเกี่ยวกับความหมายของการเกิดมีอยู่ได้จากเหตุผล
พื้นฐานทางด้านจิตวิทยา
จิตวิทยา  หมายถึง  วิทยาศาสตร์สาขาหนึ่งซึ่งเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์ในการสร้างหลักสูตรขึ้นนั้นก็เพื่อใช้ในการให้การศึกษาแก่คน  ผู้สร้างหลักสูตรจึงควรให้ความสนใจพฤติกรรมโดยธรรมชาติของคนหรือผู้เรียนที่จะศึกษาตามหลักสูตรนั้น  การสร้างหลักสูตรที่สอดคล้องกับหลักจิตวิทยา  จะช่วยให้หลักสูตรนั้นเหมาะสมสอดคล้องกับธรรมชาติผู้เรียน  สำหรับบทบาทของจิตวิทยาที่มีต่อหลักสูตรอาจแบ่งได้  3  ด้าน  คือ               
1.               บทบาทของจิตวิทยาต่อจุดมุ่งหมายของหลักสูตร  เมื่อจุดมุ่งหมายของหลักสูตรเป็นสิ่งกำหนดคุณลักษณะของผลผลิตหรือผู้จบหลักสูตร  เพื่อให้จุดมุ่งหมายของหลักสูตรสอดคล้องกับวัยผู้เรียนไม่เป็นการฝืนธรรมชาติ
2.               บทบาทของจิตวิทยาที่มีต่อนักการศึกษา  ในด้านนี้นักการศึกษาจะนำความรู้ทางจิตวิทยาไปศึกษาเด็ก  และนำข้อมูลที่ได้มาช่วยในการตัดสินใจ  เลือกวิธีสอน  วิธีการปกครอง  การจัดชั้นเรียน  การกำหนดเนื้อหาและประสบการณ์  ตลอดจนการสร้างหนังสือแบบเรียน  แบบฝึกหัดและหนังสืออ่านประกอบ  เป็นต้น
3.               บทบาทของจิตวิทยาที่มีต่อครูผู้สอน  ในด้านนี้ครูสามารถใช้ความรู้  ข้อคิด  และวิธีการทางจิตวิทยาเป็นเครื่องช่วยในการรู้จักธรรมชาติของผู้เรียน  วิธีการเรียนของนักเรียนและนำมาใช้ในการเตรียมการสอน   การจัดกระบวนการเรียน การสอนของครู
พื้นฐานด้านสังคม
เมื่อทุกคนต้องอยู่ในสังคม  ต้องมีการพบปะกันทางสังคมมีการใช้วัฒนธรรมและสถาบันสังคมร่วมกัน  ทุกคนในสังคมย่อมต้องเรียนรู้วัฒนธรรมของสังคม เพื่อจะได้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสงบสุข  การจัดการศึกษาจึงเป็นสิ่งจำเป็นในสังคม และหลักสูตรจะต้องสนองความต้องการลักษณะวัฒนธรรมทางสังคม  สภาพของสังคมและวัฒนธรรมจึงมีบทบาทกำหนดหลักสูตร นักการศึกษาได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ของหลักสูตรกับสังคม จริยธรรม  และวัฒนธรรม


ทฤษฎีการเรียนรู้(Learning Theory) การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง(Student Center Learning)


หลักสูตรแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
                   ๑.       หลักสูตรแบบเด็กเป็นศูนย์กลาง  เน้นที่ตัวเด็กแทนที่การเน้นเนื้อหาวิชา เป็นการบูรณาการเนื้อหาให้เป็นหน่วยของ ประสบการณ์หรือปัญหาสังคม
                  ๒.     หลักสูตรประสบการณ์ เน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง แต่ไม่อาจคาดหมายไว้ล่วงหน้าว่าความ   สนใจและความต้องการของเด็กจะเป็นเช่นไร
                  ๓.      หลักสูตรแบบมนุษยนิยม  ปล่อยให้นักเรียนเป็นอิสระเสรี มีความคิดสร้างสรรค์ ให้เรียนตามความสามารถของตัวเอง ไม่ตั้งจุดมุ่งหมาย เน้นคุณธรรม จริยธรรม อารมณ์ ให้ผู้เรียนได้เปิดเผยตัวเอง  ต่างจากไทเลอร์ ซึ่งเน้นที่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ต้องตั้งจุดมุ่งหมายก่อนเพื่อแสดงพฤติกรรมที่วัดได้


ทฤษฏีการเรียนรู้ที่สนับสนุนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
1 ทฤษฏีการสร้างความรู้ (Constructivism Theory)

   
2 ทฤษฏีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล (Information Processing Theory  )

3 ทฤษฏีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences)

4 ทฤษฏีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Cooperative Learning)
      การเรียนรู้แบบร่วมมือ ซึ่งมีลักษณะสำคัญ 5 ประการ
             1 มีการพึ่งพาอาศัยกัน (positive interdependence)
             2 มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด (face-to-face-promotive interaction)
             3 สมาชิกแต่ละคนมีบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบที่สามารถตรวจสอบได้ (individual        accountability)
             4 มีการใช้ทักษะการสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และทักษะการทำงานกลุ่ม (interpersonal and small group skills)
             5 มีการวิเคราะห์กระบวนการกลุ่ม (group processing)


      หลักการเรียนรู้เพื่อการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
           ส่งเสริมให้ผู้เรียน
1 สร้างความรู้ด้วยตนเอง (construction) ด้วยการใช้กระบวนการเรียนรู้ (learning process)
2 มีส่วนร่วม (participation) อย่างตื่นตัว (active)
3 มีปฏิสัมพันธ์ (interaction) และร่วมมือ ร่วมใจ (co-operation) ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (share and learning)
4 ทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาทั้งสมองซีกซ้ายและขวา หรือพัฒนาพหุปัญญา (multiple intelligences)
5 นำความรู้ไปใช้ และประยุกต์ใช้ (application)




แผนภาพ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง