หลักสูตรแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
๑. หลักสูตรแบบเด็กเป็นศูนย์กลาง
เน้นที่ตัวเด็กแทนที่การเน้นเนื้อหาวิชา เป็นการบูรณาการเนื้อหาให้เป็นหน่วยของ ประสบการณ์หรือปัญหาสังคม
๒. หลักสูตรประสบการณ์ เน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง
แต่ไม่อาจคาดหมายไว้ล่วงหน้าว่าความ
สนใจและความต้องการของเด็กจะเป็นเช่นไร
๓. หลักสูตรแบบมนุษยนิยม
ปล่อยให้นักเรียนเป็นอิสระเสรี มีความคิดสร้างสรรค์
ให้เรียนตามความสามารถของตัวเอง ไม่ตั้งจุดมุ่งหมาย เน้นคุณธรรม จริยธรรม อารมณ์
ให้ผู้เรียนได้เปิดเผยตัวเอง
ต่างจากไทเลอร์ ซึ่งเน้นที่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
ต้องตั้งจุดมุ่งหมายก่อนเพื่อแสดงพฤติกรรมที่วัดได้
ทฤษฏีการเรียนรู้ที่สนับสนุนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
1 ทฤษฏีการสร้างความรู้ (Constructivism Theory)
2 ทฤษฏีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล (Information Processing Theory )
3 ทฤษฏีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences)
4 ทฤษฏีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Cooperative Learning)
การเรียนรู้แบบร่วมมือ
ซึ่งมีลักษณะสำคัญ 5 ประการ
1 มีการพึ่งพาอาศัยกัน (positive interdependence)
2 มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด (face-to-face-promotive interaction)
3 สมาชิกแต่ละคนมีบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบที่สามารถตรวจสอบได้
(individual accountability)
4 มีการใช้ทักษะการสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
และทักษะการทำงานกลุ่ม (interpersonal
and small group skills)
5 มีการวิเคราะห์กระบวนการกลุ่ม (group processing)
หลักการเรียนรู้เพื่อการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ส่งเสริมให้ผู้เรียน
1 สร้างความรู้ด้วยตนเอง (construction) ด้วยการใช้กระบวนการเรียนรู้ (learning process)
2 มีส่วนร่วม (participation) อย่างตื่นตัว (active)
3 มีปฏิสัมพันธ์ (interaction) และร่วมมือ ร่วมใจ (co-operation) ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (share and learning)
4 ทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาทั้งสมองซีกซ้ายและขวา
หรือพัฒนาพหุปัญญา (multiple
intelligences)
5 นำความรู้ไปใช้ และประยุกต์ใช้ (application)
แผนภาพ
การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น