ปรัชญาการศึกษาหรือทฤษฎีทางการศึกษา
มีอิทธิพลและมีความสำคัญต่อการพัฒนาหลักสูตรเป็นอย่างมาก กล่าวคือ การที่นักพัฒนาหลักสูตรจะพิจารณาและตัดสินใจลงไปว่า
จุดหมายของหลักสูตรควรจะเป้นอย่างไร จะกำหนดให้เรียนเนื้อหาอะไร
ตลอดจนวิธีการเรียนการสอนและการประเมินผล
จะต้องอิงหรืออาศัยความรู้และความคิดเกี่ยวข้องและพาดพิงปรัชญาและปรัชญาการศึกษาทั้งสิ้น
โดยมีกลุ่มธรรมชาตินิยมเชิงจิตนิยม ได้ศึกษาลึกซึ้งลงไปจึงได้เสนอแนวความคิดทั้ง 6
ประการดังนี้
1.
ปรัชญาการศึกษากลุ่มนิรันตรนิยม
แนวความคิดหลักทางการศึกษาของนิรันตรนิยม ได้แก่
ความเชื่อว่าหลักการของความรู้จะต้องมีลักษณะที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง
รากฐานนี้มาจากงานของ เซนท์ โทมัสอะไควนัส
ย้ำว่าพลังแห่งเหตุผลของมนุษย์ผนวกกับแรงศรัทธา คือเคื่องมือแห่งความรู้
โทมัสให้ความสำคัญของชีวิตประจำวันของมนุษย์และคุณงามความดีที่อยู่เหนือธรรมชาติ
เชื่อว่าสิ่งเหล่านี้ได้มาจากประสบการณ์
ดังนั้นการศึกษาจะต้องมุ่งที่การเสริมสร้างสติปัญญาในส่วนต่างๆ เหล่านี้โดยเฉพาะมีความเข้าใจว่า
จิตของมนุษย์ได้รับมอบความหมายมาจากธรรมชาติในเชิงชีววิทยา
การศึกษาจึงต้องแสวงหาสัจธรรมที่เป็นนิรันดร
และจะต้องไม่ถูกชักนำให้หลลงไปกับความต้องการในปัจจุบันในลักษณะฉาบฉวยและชั่วครั้งชั่วคราว
2.
ปรัชญาการศึกษากลุ่มสารัตถนิยม
สารัตถนิยมเป็นชื่อของปรัชญาการศึกษาที่กำหนดขึ้นมาโดย
วิลเลียม ซี แบกเลย์
ได้นำความคิดและความเชื่อเรียบเรียงเป้นรายงานเสนอต่อนักการศึกษาในปี ค.ศ.1938
ทัศนะนี้ได้ถูกนำไปปฏิบัติในโรงเรียนกันอย่างแพร่หลาย
กลุ่มสารัตถนิยมมีสมาชิกและผู้สนับสนุนที่มาจากพวกจิตนิยม
และสัจนิยมการผนึกกำลังและความคิดจึงไม่เป็นกลุ่ม จึงพิจารณาถึงทฤษฎีการเรียนรู้ของพวกสารัตถนิยมจำเป็นจะต้องตรวจสอบด้วยทฤษฎีของกลุ่มจิตนิยม
และสัจนิยม จิตนิยมเป็นการจำลองของจิตที่มาจากพระเจ้า
ดังนั้นจึงได้ความรู้มาโดยวิธีที่เกิดจากญาณของตนเอง
สารัตถนิยมสนับสนุนการศึกษาทุกรูปแบบที่นำไปสู่การฝึกจิตการพัฒนาความสามารถในการจำ
การหาเหตุผลและการทำความเข้าใจจึงมีความสำคัญมาก
3.
ปรัชญาการศึกษากลุ่มพิพัฒนนิยม
ปรัชญาการศึกษานี้ ก่อตั้งในศตวรรษที่ 20
(1920) ในสหรัฐอเมริกา ปรัชญานี้มีความเชื่อว่า สาระสำคัญและความเป็นจริงของสิ่งทั้งหลายนั้น มิได้คงที่หรือหยุดนิ่ง
หากจะเปลี่ยนสภาพไปตามเวลาและสิ่งแวดล้อมและในส่วนที่เกี่ยวกับการศึกษานั้นลัทธินี้เชื่อว่า การศึกษาในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมก็ควรจะเปลี่ยนสภาพไปด้วยเมื่อถึงคราวจำเป็น
ฉะนั้นวิธีการทางการศึกษาจึงต้องพยายามปรับปรุงให้สอดคล้องกับกาลเวลาและสภาพแวดล้อมอยู่เสมอ การศึกษามิใช่จะสอนให้คนยึดมั่นในความจริง ความรู้
และค่านิยมที่คงที่หรือถูกกำหนดไว้ตายตัว
หากจะต้องปรับปรุงการศึกษาเพื่อจะเป็นหนทางนำไปสู่การค้นพบความรู้ใหม่ ๆ
อยู่เสมอ
ดังนั้นปรัชญาการศึกษานี้
จึงยึดมั่นในทางแห่งเสรีภาพที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมเพื่อให้เหมาะสมกับกาลสมัย
4.
ปรัชญาการศึกษากลุ่มปฏิรูปนิยม
นักพิพัฒนนิยมมีความเห็นว่า
แนวคิดขิงพิพัฒนนิยมมีลักษณะที่เป็นกลางมากเกินไป
จึงไม่สามารถนำไปใช้ในการปฏิรูปการศึกษาในส่วนที่จำเป็นได้
พวกที่ต้องการแสวงหาอุดมการณ์ที่จะสามารถแก้ไขปัญหาสังคมได้ตรงกว่านี้
และสร้างสังคมที่ดีกว่าขึ้นมาใหม่ จึงถูกแยกออกจากพิพัฒนาการ
เป็นแนวความคิดขึ้นมาใหม่ เรียกว่า “ปฏิรูปนิยม” ความคิดของปฏิรูปนิยมมีอยู่ว่า
การศึกษาควรจะเป็นเครื่องมือโดยตรงในการปฏิรูปการศึกษา เบิร์น
ได้สรุปเห็นจุดเน้นของปฏิรูปนิยมว่า เรากำลังอยู่ในท่ามกลางวิกฤตของโลก
การแก้ปัญหาที่มีประสิทธิผลต่อการสร้างระเบียบสังคมของโลกและโรงเรียนของโลกควรจะเป็นกลไกที่มีพลังในการสร้างมนุษย์โลกและวัฒนธรรมของเขาขึ้นมา
พวกปฏิรูปนิยมมองโรงเรียนว่าเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสร้างระเบียบสังคมขึ้นมาใหม่
ดังนั้น การจัดหลักสูตรตามแนวคิดของปฏิรูปนิยม
จึงเน้นเนื้อหาสาระและววิธีการที่จะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ถึงความรับผิดชอบที่จะปฏิรูปและสร้างสังคมใหม่ที่ดีกว่าขึ้นมา
ทั้งในระดับชุมชน ประเทศ และระดับประเทศ
5.
ปรัชญาการศึกษากลุ่มอัตถิภาวนิยม
การค้นหาความหมายของการมีอยู่ของมนุษย์ในจักรวาล
การร้องขอให้ได้มาซึ่งความสำคัญส่วนบุคคลในยุคเทคโนโลยี
และความจำเป็นที่จะต้องรู้จักตนเองของบุคคลในยุคของเครื่องจักร
นำไปสู่การทำให้เกิดความคิดตามแนวของอัตถิภาวนิยม
จากรากฐานความคิดที่ได้มาจากผลงานของนักปรัชญาและชาวเทววิทยาชาว Danish
ที่ชื่อ Soren
Kierkegaard ความคิดของพวกอัตถิภาวนิยมก็ได้แพร่หลายและขยายออกไปอย่างรวดเร็ว พวกอัตถิภาวนิยมยืนยันว่า
วิทยาศาสตร์เป็นวิธีการที่ไม่เพียงพอสำหรับพวกเขาเพราะว่า
ความคิดทางวิทยาศาสตร์มักจะเกี่ยวกับการทำสิ่งต่างๆ ให้เป็นปรนัยและไม่ยอมรับการรับรู้ทางญาณและการปฏิสัมพันธ์ของตนเองที่ทางปรัชญาได้กำหนด
ทางพวกอัตถิภาวนิยมให้ความสนใจและผูกพันอยู่กับการตรวจสอบตนเองที่อยู่เหนือเหตุผล
เพราะว่าเขาไม่สามารถค้นหาคำตอบของคำถามสูงสุดเกี่ยวกับความหมายของการเกิดมีอยู่ได้จากเหตุผล
พื้นฐานทางด้านจิตวิทยา
จิตวิทยา หมายถึง
วิทยาศาสตร์สาขาหนึ่งซึ่งเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์ในการสร้างหลักสูตรขึ้นนั้นก็เพื่อใช้ในการให้การศึกษาแก่คน ผู้สร้างหลักสูตรจึงควรให้ความสนใจพฤติกรรมโดยธรรมชาติของคนหรือผู้เรียนที่จะศึกษาตามหลักสูตรนั้น การสร้างหลักสูตรที่สอดคล้องกับหลักจิตวิทยา
จะช่วยให้หลักสูตรนั้นเหมาะสมสอดคล้องกับธรรมชาติผู้เรียน
สำหรับบทบาทของจิตวิทยาที่มีต่อหลักสูตรอาจแบ่งได้ 3
ด้าน คือ
1.
บทบาทของจิตวิทยาต่อจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
เมื่อจุดมุ่งหมายของหลักสูตรเป็นสิ่งกำหนดคุณลักษณะของผลผลิตหรือผู้จบหลักสูตร
เพื่อให้จุดมุ่งหมายของหลักสูตรสอดคล้องกับวัยผู้เรียนไม่เป็นการฝืนธรรมชาติ
2.
บทบาทของจิตวิทยาที่มีต่อนักการศึกษา
ในด้านนี้นักการศึกษาจะนำความรู้ทางจิตวิทยาไปศึกษาเด็ก และนำข้อมูลที่ได้มาช่วยในการตัดสินใจ เลือกวิธีสอน
วิธีการปกครอง
การจัดชั้นเรียน
การกำหนดเนื้อหาและประสบการณ์
ตลอดจนการสร้างหนังสือแบบเรียน
แบบฝึกหัดและหนังสืออ่านประกอบ
เป็นต้น
3.
บทบาทของจิตวิทยาที่มีต่อครูผู้สอน ในด้านนี้ครูสามารถใช้ความรู้ ข้อคิด
และวิธีการทางจิตวิทยาเป็นเครื่องช่วยในการรู้จักธรรมชาติของผู้เรียน
วิธีการเรียนของนักเรียนและนำมาใช้ในการเตรียมการสอน การจัดกระบวนการเรียน การสอนของครู
พื้นฐานด้านสังคม
เมื่อทุกคนต้องอยู่ในสังคม
ต้องมีการพบปะกันทางสังคมมีการใช้วัฒนธรรมและสถาบันสังคมร่วมกัน ทุกคนในสังคมย่อมต้องเรียนรู้วัฒนธรรมของสังคม
เพื่อจะได้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสงบสุข
การจัดการศึกษาจึงเป็นสิ่งจำเป็นในสังคม
และหลักสูตรจะต้องสนองความต้องการลักษณะวัฒนธรรมทางสังคม
สภาพของสังคมและวัฒนธรรมจึงมีบทบาทกำหนดหลักสูตร นักการศึกษาได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ของหลักสูตรกับสังคม
จริยธรรม และวัฒนธรรม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น