ความหมายของการบริหารจัดการหลักสูตร
การบริหารจัดการหลักสูตรเป็นขั้นตอนหนึ่งในกระบวนการพัฒนาหลักสูตรที่มีความสำคัญมากเพราะเป็นขั้นตอนหนึ่งที่ชี้ให้เห็นถึงความสำเร็จหรือความล้มเหลวของหลักสูตร นักพัฒนาหลักสูตรได้ให้ความหมายของการนำหลักสูตรไปใช้ไว้หลายแง่มุมดังนี้
สุมิตร คุณากร (2523)
กล่าวว่า
การนำหลักสูตรไปใช้เป็นการรวมกิจกรรม 3 ประเภท
โดยได้อธิบายกิจกรรมทั้ง 3 ประเภทดังนี้
1 การแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน หลักสูตรระดับชาติจะกำหนดจุดหมาย เนื้อหาวิชา
การประเมินผลไว้อย่างกว้างๆ
ครูจึงไม่สามารถนำหลักสูตรไปสอนได้หากยังไม่มีการดัดแปลงให้เหมาะ
2
การจัดปัจจัยและสภาพต่างๆภายในโรงเรียนให้หลักสูตรบรรลุถึงเป้าหมาย การนำหลักสูตรมาปฏิบัตินั้นเกิดขึ้นที่โรงเรียน
ผู้บริหารควรสำรวจปัจจัยและสภาพต่างๆของโรงเรียนว่าเหมาะสมกับการนำหลักสูตรมาปฏิบัติหรือไม่
3 การสอนของครู
การเอาใจใส่ต่อการสอนให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตร การเลือกวิธีการสอนที่เหมาะสม
เหล่านี้เป็นปัจจัยที่จะชี้ชะตาหลักสูตรทั้งสิ้น ส่วนผู้บริหารก็ต้องคอยให้ความสะดวกและกำลังใจแก่ครู
สงัด อุทรานันท์ (2532)
กล่าวว่า ระบบการใช้หลักสูตรเป็นระบบย่อยในการพัฒนาหลักสูตร ประกอบด้วย
ระบบการร่างหลักสูตร ระบบการใช้หลักสูตร ระบบการประเมินหลักสูตร
ในส่วนการใช้หลักสูตรมีงานหลักที่เกี่ยวข้องอยู่ 3 ลักษณะ
คือ
1
งานบริหารและการบริการหลักสูตร คือ
การดำเนินการในเรื่องการเตรียมบุคลากรก่อนที่จะนำหลักสูตรไปใช้
โดยการจัดให้มีการให้ความรู้หรือชี้แจงให้ผู้ที่จะใช้หลักสูตรเข้าใจถึงจุดหมาย
หลักการ โครงสร้าง
แนวทางจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและวัดประเมินผลตามหลักสูตรที่ได้จัดทำขึ้น
2
งานดำเนินการเรียนการสอนตามหลักสูตร
เริ่มตั้งแต่ปรับปรุงหลักสูตร ทำแผนการสอน ไปสู่ภาคปฏิบัติ จัดกิจกรรมการเรียนการสอน
การวัดประเมิน
3
งานสนับสนุนและส่งเสริมการใช้หลักสูตร ได้แก่
การนิเทศและติดตามเพื่อติดตามผลการใช้หลักสูตรในโรงเรียนว่าดำเนินการด้วยความถูกต้องหรือมีปัญหาเกิดขึ้นหรือไม่
นอกจากนี้อาจให้การสนับสนุนและส่งเสริมการใช้หลักสูตรด้วยการตั้งศูนย์วิชาการหรือจัดตั้งโรงเรียนตัวอย่าง
วิชัย วงษ์ใหญ่ (2521)
กล่าวว่า การนำหลักสูตรไปใช้ควรมี 8 ขั้นตอน ดังนี้
1 การเตรียมวางแผนงานเพื่อใช้หลักสูตรใหม่
ผู้บริหารจะต้องศึกษาวิเคราะห์หลักสูตรในเรื่องจุดมุ่งหมายที่แท้จริง
2
การเตรียมการจัดอบรมครูเพื่อใช้หลักสูตรใหม่
จะต้องพิจารณาวางโครงการฝึกอบรมให้ชัดเจนและมีขั้นตอน
3 การจัดครูเข้าสอน ครูจะต้องมองเห็นความสำคัญและก้าวให้ทันกับเหตุการณ์
4 การจัดตารางการสอน ควรคำนึงถึงความเหมาะสมในเรื่องระดับความยากง่าย
วัย ความสามารถของผู้เรียน ตลอดจนชั่วโมงการสอนของครู
5
การจัดบริการวัสดุประกอบหลักสูตรและสื่อการเรียน
ได้แก่การทำโครงการสอน แผนการสอน พัฒนาคู่มือครู แบบเรียนและสื่อการเรียน
ซึ่งต้องอาศัยบุคคลหลายฝ่ายช่วยเหลือ
6
การประชาสัมพันธ์การใช้หลักสูตร
เพื่อให้ประชาชนในชุมชนได้ทราบว่าการใช้หลักสูตรใหม่นั้นลูกหลานของเขาหรือตัวเขาจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไรในการเรียนรู้
7 การจัดสภาพแวดล้อมและการเลือกสรรโครงการกิจกรรมหลักสูตร ได้แก่สภาพแวดล้อมและกิจกรรมภายนอกห้องเรียน
ถ้าได้เลือกสรรอย่างดีจะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมากต่อครูและนักเรียน
8
การจัดโครงการประเมินผลการใช้หลักสูตรและการปรับปรุงหลักสูตร เป็นสิ่งสำคัญและต้องทำเป็นขั้นตอน
ความสำคัญของการบริหารจัดการหลักสูตร
อาจสรุปได้ว่า การบริหารจัดการหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้เป็นกิจกรรมที่กว้างขวาง
มีลำดับขั้นตอนและเป็นกระบวบการ
โดยเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจและวิเคราะห์หลักสูตร การจัดทำเอกสารประกอบหลักสูตรอันเป็นการแปลงไปสู่การสอน
การจัดบุคลากร การจัดปัจจัยสนับสนุนการใช้หลักสูตร การจัดกิจกรรมต่างๆ การวัดและประเมินผลการเรียนการสอน
การนิเทศติดตามผลทุกขั้นตอน
กระบวนการบริหารการจัดการหลักสูตรสถานศึกษา
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ (2545)
มีคำสั่งให้ใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544
ซึ่งเป็นหลักสูตรแกนกลางที่มีลักษณะเป็นกรอบกว้างๆ มีสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ทั้ง
8 กลุ่ม
เป็นแนวทางให้สถานศึกษานำไปจัดทำหลักสูตรของสถานศึกษา
ผู้บริหารและครูต้องทำหน้าที่เป็นผู้พัฒนาหลักสูตรนอกเหนือจากหน้าที่การสอน
เมื่อสถานศึกษาสร้างหลักสูตรแล้วต่อไปก็จะเป็นขั้นตอนการนำหลักสูตรไปใช้
ซึ่งต้องมีกระบวนการจัดการหลักสูตรเพื่อการใช้หลักสูตรอย่างมีประสิทธิภาพ
ในการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาจะประกอบด้วย 7 ภารกิจดังนี้
ภารกิจที่ 1 การเตรียมความพร้อมของสถานศึกษา
ภารกิจที่ 2 การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
ภารกิจที่ 3
การวางแผนดำเนินการใช้หลักสูตร
ภารกิจที่ 4 การดำเนินการบริหารหลักสูตร (ใช้หลักสูตร)
ภารกิจที่
5
การนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล
ภารกิจที่ 6
การสรุปผลการดำเนินงานของสถานศึกษา
ภารกิจที่ 7 การปรับปรุงพัฒนากระบวนการบริหารจัดการหลักสูตร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น